สุวรรณภูมิ (AIMS) ยกระดับสนามบินไทยสู่ชั้นแนวหน้า

[img]http://www.online-station.net/news/files/0503/1649_itnews_200305_2325.jpg[/img][p]จากนโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีต้องการให้ภาพสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นสนามบินพาณิชย์แห่งใหม่ของประเทศไทยที่มีมาตรฐานเทียบเท่าสนามบินสากลนั้น เป็นเหตุให้บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ตอบสนองนโยบายโดยนำระบบ AIMS (Airport Information Management System) ซึ่งเป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการงานสนามบินที่ทันสมัยที่สุดเข้ามาใช้ โดยระบบ AIMS จะเป็นระบบบริหารจัดการสนามบินตั้งแต่กระบวนการขั้นตอนแรกของการเข้ามาใช้บริการสนามบิน ซึ่งเริ่มจากกระบวนการเช็คอิน การจัดตารางรายละเอียดเที่ยวบินรายชื่อผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวบิน รวมถึงระบบบัญชี [b]AIMS หัวใจหลักการบริหารสนามบิน[/b][p]ทั้งนี้นับว่าระบบ AIMS เป็นหัวใจหลักในการบริหารจัดการระบบสนามบินอย่างแท้จริง โดยทำการเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศการบิน (Flight Information Process System) และทำการรายงานการรับส่งข้อมูลไปยังจอภาพทั้งหมดในสนามบิน พร้อมกับทำการเชื่อมโยงระบบทั้งหมด 45 ระบบ ภายในสนามบินเข้าด้วยกัน ผ่านโครงข่ายหลัก (AIMS Network Backbone) และมีซอฟต์แวร์ WebMethods เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยอาศัยระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการทั้งหมด ซึ่งจะช่วยใช้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างสามารถดำเนินการได้ในทันที นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงระบบร้านค้าในสนามบิน ตลอดจนการให้ผู้ผลิตสินค้าหรือร้านค้า เข้ามากิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ ภายในสนามบิน ซึ่งเป็นช่องทางสร้างรายได้เสริมของสนามบินยุคใหม่ โดยผู้บริหารสามารถติดต่อและตรวจสอบจำนวนรายได้แบบทันทีทันใด เพื่อวางแผนบริหารจัดการล่วงหน้าได้ จึงนับได้ว่าระบบดังกล่าวมีความทันสมัยแตกต่างแลจากระบบในสนามบินแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง[b]สามารถฯ เผยความคืบหน้าโครงการ[/b][p]สำหรับความคืบหน้าในการติดตั้งระบบ AIMS ในสนามบินสุวรรณภูมินั้น นายสงวน ตรีเจริญวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถ คอมเทค จำกัด กล่าวกับ ฐานเศรษฐกิจ อธิบายว่า สามารถคอมเทค เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกลุ่ม Airport System Integration Specialist (ASIS) หรือ เอชีส ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ซีเมนส์ จำกัด , บริษัท สามารถ คอมเทค จำกัด , ABB และ ABB Airport Technologies และ Satyam Computer Services เข้ามาดำเนินการติดตั้งระบบ AIMS แบบครบวงจร [b]แบ่งงานวางระบบ AIMS 4 ส่วนหลัก[/b][p]โดยโครงสร้างเบื้องต้นของระบบ AIMS นั้นจะประกอบไปด้วย 4 ส่วนงานคือ ระบบ AMBD (Airport Management Database) กล่าวคือเป็นระบบฐานข้อมูลที่ได้มาจากการบริหารงานธุรการ งานพาณิชย์ การเงิน ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ซีเมนส์ จำกัด , ระบบ AODB (Airport Operations Database) หรือที่เรียกว่าระบบฐานข้อมูลการปฏิบัติการสนามบิน เพื่อใช้ในการสังเกตการณ์และตรวจสอบ การวางแผน การจัดการ การควบคุม และการตัดสินใจ ดำเนินการติดตั้งโดยบริษัท ABB และ ABB Airport Technologies , ระบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงระบบ AIMS เข้ากับคอมพิวเตอร์ของท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ดำเนินการโดยบริษัท Satyam Computer Services สุดท้ายคือระบบเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด ตั้งแต่ระบบข่ายสาย , คอมพิวเตอร์ , ระบบกล้องวงจรปิดสำหรับใช้ในระบบรักษาความปลอดภัยในบริเวณสนามบิน ดำเนินการโดยบริษัท สามารถ คอมเทค จำกัด[p]ในแง่ความคืบหน้าโครงการนั้นปัจจุบันได้เริ่มลงมือปฏิบัติงานขั้นต้น ทั้งในส่วนของการติดตั้งอุปกรณ์ การวางสายไฟเบอร์ ในบางส่วนแล้ว แต่การติดตั้งระบบ AIMS จะแล้วเสร็จได้ทันกำหนดหรือไม่นั้นขึ้นกับระยะเวลาในการก่อสร้างอาคารสถานที่ เนื่องจากการติดตั้งระบบบางส่วนจะต้องติดตั้งหลังจากที่ตัวอาคารมีความเรียบร้อยแล้วเท่านั้น อาทิ การติดตั้งคอมพิวเตอร์ , ระบบกล้องวงจรปิด เป็นต้น โดยเบื้องต้นคาดว่าปลายเดือนมีนาคม 2548 นี้จะสามารถดำเนินการติดตั้งระบบได้เสร็จสมบูรณ์ [b]ประกาศ มิ.ย.นี้เปิดทดสอบระบบ[/b][p]ซึ่งภายหลังจากติดตั้งระบบเรียบร้อยในช่วงเดือนมิถุนายน 2548 จะเปิดให้องค์กรการบินระหว่างประเทศ (ICAO) เข้ามาทำการทดสอบการเชื่อมต่อของระบบ หรือที่เรียกว่ากระบวนการ ORAT เพื่อเป็นการทดสอบการทำงานของระบบสนามบินทั้งหมดระบบว่าสามารถทำงานร่วมกันได้หรือไม่ โดยคาดว่า ICAO จะใช้เวลาทดสอบระบบทั้งหมดอย่างน้อยประมาณ 6 เดือน ซึ่งจากนั้นหาก ICAO ทำการรับรองมาตรฐานทำการทำงานของระบบ ก็สามารถเปิดให้บริการสนามบินเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบได้ทันที[p]ทั้งนี้คาดว่าหลังจากทำการติดตั้งระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะสามารถทำการเชื่อมต่อกันไปได้โดยไม่ติดขัดปัญหาในส่วนใด เนื่องจากในระหว่างที่ทำการติดตั้งระบบนั้น กลุ่มกิจการร่วมค้า Airport System Integration Specialist ได้มีการทำการทดลองเชื่อมต่อการทำงานของระบบต่างๆเข้าด้วยภายในห้องทดลอง เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนที่จะติดตั้งระบบเพื่อใช้งานจริง [p]นายสงวน ยังได้กล่าวถึงปัญหาในการดำเนินการติดตั้งระบบด้วยว่า ขั้นตอนที่ยากและนับว่าเป็นปัญหาในการดำเนินการติดตั้งระบบคือการเจรจาประสานงานกับคู่สัญญางานด้านอื่นในโครงการก่อสร้างสนามบิน เพื่อให้งานสอดคล้องกันและแล้วเสร็จได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้เนื่องจาก AIMS เป็นระบบที่จะต้องเชื่อมโยงทุกตึกในสนามบินเข้าด้วย จึงมีบางส่วนที่จำเป็นจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับก่อสร้างอาคาร [b]จับตาก้าวสำคัญสุวรรณภูมิสู่สากล[/b] [p]ปัจจุบันมีสนามบินระดับโลกเพียงไม่กี่เท่านั้น ที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้างว่า ระบบการบริหารจัดการข้อมูลสนามบินมีความทันสมัยที่สุดในโลก ประกอบด้วยสนามบินเซี่ยงไฮ้ เปิดให้บริการเมื่อปี 1999 สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50 ล้านราย,สนามบินเอเธนส์สร้างเสร็จเมื่อปี 2001 สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 55 ล้านราย,สนามบินดูไบสร้างเสร็จเมื่อ 2002 มีขีดจำกัดในการรองรับผู้โดยสารได้ 50 ล้านราย,สนามบินชางฮี ประเทศสิงคโปร์ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 40 ล้านราย , สนามบินฮ่องกง โดยล่าสุดเห็นจะเป็นสนามบินดัลลัส ฟอร์ทเวิธท์ เท็กซัส ที่เปิดทำการเมื่อปี 2004 ที่ผ่านมา ซึ่งต้องจับตาต่อไปว่าสนามบินน้องใหม่อย่าง สุวรรณภูมิ จะมีระบบเทคโนโลยีที่สมบูรณ์แบบเทียบเท่ามาตรฐานสากลตามที่นายกรัฐมนตรีวาดฝันไว้หรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ ตอนนี้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะเลื่อนกำหนดการเปิดสนามบินแห่งใหม่จากกันยายน 2548 ไปเป็นปี 2549[img]http://www.online-station.net/news/files/0503/1649_air.jpg[/img]

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้