ต้นกำเนิดของเกม Raycity ที่จะทำให้เราเปิดประตูก้าวเข้าไปสู่โลกของผู้พัฒนาเกมอย่างแท้จริง เราจะได้รู้กันว่า กว่าที่พวกเขาจะทำออกมาเป็นตัวเกมที่ให้พวกเราได้เล่นกันอยู่ในทุกวันนี้ พวกเขามีแนวความคิดอย่างไรกันบ้าง
คำว่า Raycity เป็นไอเดียเกิดมาจากคำว่า Ray ซึ่งแปลว่า Light (ลำแสง) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความเร็วและแรง ส่วนคำว่า City ก็คือฉากในเมืองเมื่อมารวมกันเป็น Raycity และบริษัทผู้พัฒนาเกมนี้ก็คือบริษัท J2M Soft
พนักงานรุ่นแรกที่มาก่อตั้งบริษัท J2M Soft จะมาจากทีมงานผู้พัฒนาเกม Kart Rider ซึ่งนำทีมมาโดย Studio Manager และเหล่าโปรแกรมเมอร์รวมแล้วประมาณ 12 คน จนถึงบัดนี้มีพนักงานร่วมๆ 50 กว่าคนแล้ว
ในตอนแรกเหล่าทีมงานต้องการที่จะทำเกมที่มีแผนที่เป็นเมืองที่เราอาศัยอยู่จริงๆ เพราะเท่าที่เห็นจากหลายๆ เกมส่วนใหญ่มักจะเป็นโลกแฟนตาซี หรือมีความเป็นแฟนตาซีผสมเข้าไปมาก เกมนี้จึงต้องเป็นเกมที่สามารถเล่นในแผนที่ใหญ่ๆ ได้ และอีกอย่างคือเกม Casual มันมีอายุสั้นมากถ้าเทียบกับ MMORPG ซึ่งเกม MMORPG จะทำให้ผู้เล่นสามารถสนุกกับตัวเกมได้นานกว่ามาก แต่ทั้งหมดที่พูดมานี้ก็คงมาจากเหตุผลเล็กๆ นั่นก็คือ…พวกเค้าต้องการอะไรที่มันแตกต่าง
แม้ว่า Racing จะเป็นส่วนสำคัญและส่วนที่ใหญ่มากๆ ใน Raycity แต่การเป็น Racing ก็แค่การแข่งขัน ในขณะที่ Raycity ไม่ได้มีเพียงการแข่งขัน เมื่อผู้เล่นแข่งขันกันจบ คุณได้เงิน คุณได้รางวัลจากการแข่งขัน และสามารถนำมันไปพัฒนารถของคุณต่อได้ เรียกได้ว่ารถเติบโตไปพร้อมๆ กับผู้เล่นเหมือนเกม MMORPG ที่ตัวละครเติบโตไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีอะไรให้ทำอีกหลายๆ อย่างใน Raycity ซึ่งอธิบายด้วยคำว่า MMORPG ได้ดีกว่า ด้วยเหตุนี้พวกเค้าจึงเลือกที่จะให้ Raycity เป็น MMORPG มากกว่าการเป็นเกม Racing
ปัญหาส่วนใหญ่ที่เจอในการพัฒนาก็คือ ปัญหาเกี่ยวกับทางเทคนิค โดย Raycity เป็นเกมที่มีลักษณะ Casual ผสมกับ MMORPG ซึ่งในส่วนของระบบ Casual นั้นปกติจะใช้การเชื่อมต่อแบบ P2P (Peer to Peer) ส่วน MMORPG จะใช้การเชื่อมต่อแบบ Client Server เมื่อจะนำทั้งสองอย่างมารวมกันทำให้เราต้องคิดวิธีใหม่ในการเชื่อมต่อ ซึ่งตอนนี้ทางทีมงานได้สร้าง Protocol ขึ้นมาเองทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ Texture ของกราฟฟิกในเกม ที่ทีมงานจำเป็นต้องสร้าง Texture พิเศษที่เครื่องจะสามารถ Render ภาพได้อย่างรวดเร็วในขณะเล่น ไม่เช่นนั้นทุกคนคงจะต้องใช้เครื่องที่เป็น Quad Core ในการเล่นเกมนี้แน่ๆ
“แต่ทั้งหมดที่พูดมานี้ก็คงมาจากเหตุผลเล็กๆ นั่นก็คือ เราต้องการอะไรที่มันแตกต่าง”
เหตุการณ์สำคัญของบริษัท
2004 เดือนธันวาคม ก่อตั้งบริษัท J2M Soft
2005 เดือนสิงหาคม ทำ Prototype ของเกม Raycity เสร็จ
2006 เดือนเมษายน J2M Soft จับมือกับ Publisher รายใหญ่ “Neowiz”
2006 เดือนกรกฎาคม Raycity เปิด CB ครั้งแรก
2006 เดือนกันยายน Raycity เปิด CB เป็นครั้งที่ 2
2006 เดือนพฤศจิกายน Raycity ออกบูธในงาน G Star 2006
2006 เดือนพฤศจิกายน Raycity เปิดให้บริการ CB ครั้งที่ 3 แต่เปลี่ยนชื่อเป็นช่วง Stress test
2007 เดือนมกราคม แถลงข่าวความร่วมมิอกับบริษัทไนน์ยูจากประเทศจีน
2007 เดือนกรกฎาคม Raycity ออกบูธในงาน Chinajoy 2007
2007 เดือนกรกฎาคม Raycity เปิด CB ครั้งที่ 1 ในประเทศจีน
2008 เดือนมิถุนายน Raycity เปิด CB ในประเทศไทย
ทีมงาน J2M ใช้เวลาพัฒนาแผนที่กรุงโซลตั้งแต่ปี 2005 จนถึงตอนนี้ก็ยังคงพัฒนากรุงโซลในเกมไปเรื่อยๆ ซึ่งใช้ทีมโปรแกรมเมอร์เยอะมากเพราะความยากของการจำลองเมืองขึ้นมาก็คือ ทีมงานต้องทำจากข้อมูลจริงๆ ของตึกแต่ละตึก ซึ่งไม่สามารถ Copy Texture มาได้ เพราะมันแตกต่างกันทุกตึก และรายละเอียดของมันก็มีเยอะมาก
จริงๆ แล้วทางทีมงานก็อยากจะปรับปรุงให้กราฟฟิกดีขึ้นกว่านี้ การทำกราฟฟิกให้สวยๆ เราทำได้แต่ความต้องการของเครื่องในการประมวลผลก็ย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย คงไม่มีใครใช้เครื่อง Quad Core เล่นเกมออนไลน์ ดังนั้นทีมงานจึงต้องปรับให้เหมาะสมกับ Hardware ในปัจจุบัน นี้จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมถึงไม่มีกลางวัน-กลางคืน หรือแม้แต่กระทั่งสภาพอากาศ เช่น ฝนตก, หิมะตก เป็นต้น
และก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะว่าตอนนี้ทางทีมงานสามารถทำ Client ตัวใหม่ ที่มีการปรับให้เครื่องต่ำๆ ก็สามารถเล่น Raycity ได้ จากเดิมที่ใช้ความต้องการของเครื่องต่ำอยู่แล้วให้ต่ำลงไปอีกโดยที่ภาพยังคงคุณภาพไว้เหมือนเดิม
ในส่วนของการทำโมเดลนั้น โมเดลที่เป็นรถยนต์หรือเครื่องจักร จะสร้างง่ายกว่าตัวละครที่เป็นสิ่งมีชีวิต เพราะการสร้างตัวละครที่เป็นสิ่งมีชีวิตจะยากมากในการทำใบหน้า ผิวหนัง ดวงตา รวมถึงความรู้สึก สำหรับการทำตัวรถจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ถ้าทำแค่ลายตกแต่งรถก็จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นตัวละครค่อนข้างใช้เวลานานเพราะมันเป็นงานละเอียดอ่อน
ส่วนแนวความคิดที่ว่า J2M ต้องการที่จะเป็นผู้นำเกม Racing เลยหรือเปล่านั้น แน่นอนครับใครๆ ก็อยากเป็นอันดับ 1 แต่จุดเด่นของ Raycity คือมันเป็นเกม Racing MMORPG ถือเป็นแนวแปลกจึงหวังจะให้อยู่ในอันดับต้นๆ สำหรับในประเทศไทยทีมงานก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะออกมาในทิศทางใด แต่สิ่งสำคัญคืออยากให้คนไทยจำเราได้ว่า J2M เป็นบริษัทพัฒนาเกมที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เล่นได้อย่างหลากหลายมากกว่า
ความพอใจสำหรับตอนนี้ ถ้าเป็นโปรแกรมเมอร์แน่นอนว่าทุกคนต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ใช่ครับ ผมภูมิใจกับมันมาก” แต่เกมที่ดีต้องมี Partner ที่ดีด้วย แล้วจะทำให้พวกเขาภูมิใจกับมันมากขึ้น ซึ่งในตอนนี้ก็ถือเป็นความโชคดีที่ได้ Partner ดีๆ อย่างบริษัท Golden Soft ซึ่งก็น่าจะทำให้ Raycity ในประเทศไทยไปได้ด้วยดี
ณ วินาทีนี้ J2M Soft กำลังพัฒนาเกมใหม่อยู่ ซึ่งจะเปิด Close Beta ในอีก 2–3 เดือนข้างหน้าที่เกาหลี แต่ไม่สามารถบอกรายละเอียดอะไรได้มาก เราบอกได้แค่ว่ามันเป็น Casual ที่เน้นกลุ่มผู้หญิง ซึ่งตลาดในไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย หากอนาคต J2M มีโอกาสได้มาที่ประเทศไทยในคราวต่อไปพวกเขาก็อยากจะเจาะกลุ่มผู้เล่นที่เป็นผู้หญิงให้มากขึ้น
“การทำกราฟิกให้สวยๆ เราทำได้แต่คงไม่มีใครใช้เครื่อง Quad Core เล่นเกมออนไลน์”