หลังจากที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาสิ้นสุดลงไปเมื่อนานมานี้ด้วยชัยชนะครั้งที่สองของนาย Donald Trump ก็กลายเป็นกระแสการเมืองที่สั่นสะเทือนโลกตะวันตก รวมไปถึงวงการบันเทิงด้วย ทำให้มีบุคคลต่าง ๆ เริ่มออกมาแสดงความเห็นในเชิงการเมืองมากขึ้น
ปรากฏว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้นาย Randy Troy ซึ่งเป็นยูทูบเบอร์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องวันพีซและกลายเป็นหนึ่งในคณะนักเขียนบทสำหรับซีรีส์วันพีซฉบับคนแสดง ซีซั่นที่ 2 ของ Netflix ดูเหมือนจะออกมาแสดงความคิดเห็นเกาะกระแส พาดพิงการเมืองด้วย โดยอ้างว่า วาโปล กษัตริย์ทรราชย์แห่งอาณาจักรดรัมนั้นเดิมทีมีต้นแบบมาจากนาย Donald Trump
โดยนาย Troy อ้างว่ากษัตริย์วาโปลจอมละมอบและขี้งอนนั้นเป็นตัวละครที่มีต้นแบบมาจากนาย Trump ซึ่งนามสกุลมาจากคำในภาษาเยอรมันว่า “Drumpf” ซึ่งเป็นที่มาของชื่ออาณาจักรดรัม (Drum Kingdom) และบอกว่า อ.โอดะ เออิจิโระนั้นดูเหมือนจะทำนายไว้ล่วงหน้าเลย เพราะนโยบายบริหารของนาย Trump ในอดีตและปัจจุบันนั้นเต็มไปด้วยปัญหาด้านการจัดการสาธารณสุข
แต่ดูเหมือนว่าผู้ใช้คนอื่น ๆ จะไม่เห็นด้วย และแสดงความคิดเห็นคัดค้านมากมาย จนทำให้มี Community Note ขึ้นมาชี้แจงติดกับโพสต์ของนาย Troy ว่า อ.โอดะ เคยเผยไว้ในหนังสือ One Piece Log Book แล้วว่าชื่อเกาะ/อาณาจักรดรัม ได้แรงบันดาลใจจากแนวหินผา “Drum Rock” ที่อยู่ในประเทศแคนาดาซึ่งเคยอ่านเจอในหนังสือเล่มหนึ่ง ไม่ใช่ชื่อของ Donald Trump อย่างที่นาย Troy อ้าง
โดยผู้ที่คัดค้านบอกว่าคำกล่าวบอกว่าคำกล่าวอ้างของนาย Troy ไม่น่าเชื่อ เพราะตอนปี 2000 ตอนที่วาโปลมีบทครั้งแรก นาย Trump ยังไม่มีหน้ามีตาในแวดวงการเมืองเลย หนำซ้ำในตอนท้ายวาโปลอาจจะกลายเป็นตัวละครฝ่ายดี (หรือช่วยฝ่ายดี) อีกต่างหาก จึงคิดว่านาย Randy ไม่น่าจะแสดงความคิดแบบนี้ [ว่านาย Trump เป็นคนที่นิสัยเลวร้ายแบบวาโปล เพราะภายหลังดูเหมือนจะกลับตัวกลับใจได้]
นาย Troy จึงตอบกลับโดยยืนกรานว่า Trump นั้นหว่านเมล็ด สร้างอิทธิพลมาตั้งแต่ปี 1985 แล้ว ทำให้มีโจ๊กในสื่อช่วงปี 2000 ล้อเลียนบ่อย ๆ ให้นาย Trump เป็นประธานาธิบดี ตรงกับช่วงภาคอาณาจักรดรัมพอดี แม้แต่อนิเมชั่น The Simpsons ตอน “Bart to the Future” ที่ออกมาก่อนภาคอาณาจักรดรัมก็ล้อเรื่องนี้
ทว่าภายหลังดูเหมือนว่านาย Troy จะลบโพสต์ของตนไปแล้วหลังจากที่ผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นแง่ลบจำนวนมาก
“ฉันมองว่าโพสต์แบบนี้มันน่าจะมาจากเด็กอายุ 14 ที่เพิ่งรู้จักวันพีซสัปดาห์ที่แล้วมากกว่า ไม่น่าใช่ผู้ใหญ่ที่มีส่วนร่วมสร้างซีรีส์นะ”
“ไอ้เรื่องนั้นเขารู้กันเฉพาะในอเมริกา ไม่มีทางที่ อ.โอดะจะรอบรู้ถึงวีรกรรมของ Trump ในรายการตอนเช้าช่วงปี 2000 หรอก”
“ไม่เอาน่าพี่ชาย หยุดพูดได้แล้ว เดี๋ยวคนเขาเชื่อกันเป็นจริงเป็นจังหรอก”
“ไล่นายคนนี้ออกเดี๋ยวนี้เลย กล้ามากที่ให้ข้อมูลขัดกับต้นฉบับแล้วยัดเยียดการเมืองส่วนตัวให้กับพวกเราน่ะ”
“ฉันว่าแทบเป็นไปไม่ได้เลยนะที่ชาวญี่ปุ่นในช่วงปี 1999 เขาจะติดใจนาย Donald Trump ถึงขั้นต้องอ้างอิงอ้อม ๆ ไปถึงรากศัพท์แล้วเอามาเป็นตัวร้ายหลักของภาคในมังงะโชเน็งน่ะ”
“ไม่น่าใช่เลยนะ ตอนนั้น Trump ยังเป็นแค่นักธุรกิจ ไม่ได้มีอิทธิพลการเมืองอะไรเลย เพ้อเจ้อล่ะ”
“คนอเมริกันเลิกเอาวัฒนธรรมกับการเมืองมาสวมทับงานศิลปะต่างชาติซะทีได้ไหม พวกคุณน่ารำคาญเหลือเกิน ถ้าอ่านมังงะแล้วยังอดนึกถึง Trump ไม่ได้ก็อย่ามาเขียนบทให้ซีรีส์เลยเถอะ”
“อืม นี่ซินะพวกซ้ายจัดตกขอบอีกคนที่ “ตื่นรู้” แล้วพยายามบิดผลงานให้เข้ากับความคิดส่วนตัวเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองหรือวาระซ่อนเร้น เพราะงี้ไงคนถึงเกลียด Woke”
“ทำไมถึงลบโพสต์เดิมไปล่ะ? เพราะมันฟันดูงี่เง่าสุด ๆ เลยใช่ไหม?”
“ฉันเป็นคนญี่ปุ่น และตอนช่วงปี 2000 ไม่มีใครรู้จัก Trump กันหรอก คุณน่ะงี่เง่า อย่าคิดนะว่าคนทั่วโลกเขาจะรู้จักเซเลบอเมริกาไปหมดน่ะ”
อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าเหตุการณ์นี้จะทำให้แฟน ๆ บางส่วนรู้สึกกังวลแล้วว่าซีรีส์วันพีซ ซีซั่น 2 อาจจะมีการ “สอดไส้” เนื้อหาล้อเลียนการเมืองของสหรัฐฯ เพราะการกระทำของคนเขียนบทอย่างนาย Randy Troy ที่แสดงความเห็นต่อต้านรังเกียจนาย Trump อย่างชัดเจน
แปลและเรียบเรียงจาก
Crazy for Anime Trivia
ติดตามข่าวสารวงการบันเทิง ได้ที่ Online Station