ย้อนวัยโอตาคุรุ่นเดอะ 10 อันดับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับเหล่าโอตาคุเมื่อ 30 ปีก่อน

เราเคยรู้สึกมั้ยว่า บางสิ้งบางอย่าง บางความรู้สึกจากอดีต มันหายไปกับกาลเวลาและยุคสมัย สิ่งที่เราเคยทำเคยเห็นในอดีต กลับไม่มีให้เห็นให้ทำอีกแล้วในปัจจุบัน งานนี้เราจะมาดักแก่กันสักหน่อยดีกว่า กับเรื่องราวของเหล่าโอตาคุเมื่อ 30 ปีที่แล้ว และปัจจุบันมันเปลี่ยนแปลงไปมากหรือไม่เหลือเค้าเดิมอีกเลย ที่ทางเว็บไซด์ Goo Ranking ประเทศญี่ปุ่นทำการสำรวจโพล จาก ชายและหญิง 500 คนที่มีอายุอยู่ในช่วงวัย 20 – 39 ปี จะมีอะไรบ้างมาชมกันโลด!

10.สมัยก่อนคอสเพลย์ยังมีไม่มากเท่าปัจจุบัน (38 คะแนน)

เมื่อสมัยก่อนนั้นยังไม่มีอินเตอร์เนตใช้กัน จึงไม่ค่อยมีใครรู้จักการคอสเพลย์นัก จะมีก็แค่กลุ่มคนเล็กๆ ที่ชอบใส่ชุดเลียนแบบการ์ตูนกระจายไปตามที่ต่างๆ เท่านั้น และเมื่อมีอินเตอร์เน็ตเข้ามา ก็มีพื้นที่ให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้เผยแพร่ และแชร์กิจกรรมส่วนตัวกันมากขึ้น เลยก่อให้เกิดเป็นกระแสบูมขึ้นมา ตลอดจนมีเทคนิกใหม่ๆ ดีๆ มากมาย ทำให้คนที่ได้แค่อยากลอง ได้ศึกษาและลุกขึ้นมาทำจริงๆ และเริ่มมีอีเว้นท์สำหรับรวมกลุ่มคนเหล่านี้มากขึ้นไปด้วย

9.การอัดและเปิดเทปอนิเมะเรื่องโปรดดูวนไปวนมาจนพัง (39 คะแนน)

แน่นอนว่า การที่เราชอบดูอะไรสักอย่าง เราก็ต้องอยากดูมันอีกซ้ำๆ เรื่อยๆ แต่สื่อสมัยนั้นมีแต่เพียงแค่ตลับม้วนวีดีโอ ที่เปิดวนไปวนมาบ่อยๆ ก็พังซะแล้ว

8.เลิกเรียน/เลิกงาน แล้วต้องรีบพุ่งกลับบ้านไปดูอนิเมะเรื่องโปรดที่ฉายให้ทันเวลา (40 คะแนน)

สำหรับทีวีอนิเมะแล้ว ช่วงเวลาการฉายจะมีตายตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขนาดบ้านเราเองอยากดูดราก้อนบอลตอน 8 โมงเช้า แม้จะขี้เกียจแค่ไหนก็ต้องตื่นขึ้นมาดูให้ได้ ยิ่งเรื่องที่ชอบดูดันไปประกาศเวลาฉายตอนหลังเลิกเรียน/เลิกงานพอดีอีก แม้เพื่อนจะชวนเตะบอลหรือหาอะไรกินต่อก็ต้องปฏิเสธไปแล้วพุ่งกลับบ้านโดยพลัน

7.เหล่าไอดอลมักไม่ค่อยแสดงตัวว่าเป็นโอตาคุ (43 คะแนน)

ยุคสมัยก่อน ไอดอลกับอนิเมะยังเป็นอะไรที่ไม่ค่อยลงตัวเท่าไหร่ เนื่องมาจากการตลาดและกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะมีอนิเมะเรื่อง Macross มาช่วยเชื่อมอนิเมะกับดนตรีบ้าง แต่ก็ไม่มีผลอะไรมากนัก แถมสมัยนั้น สองฝ่ายนี้ตีกันอย่างสุดขั้วอีกด้วย แต่จริงๆ แล้วไอดอลบางคนก็ชอบการ์ตูนนะ แค่เปิดเผยตัวเองไม่ได้ เพราะกลัวโดนแฟนๆ แอนตี้นั่นเอง

6.เราจะพบชื่อจริงและที่อยู่ของผู้เขียนโดจิน ได้ที่หลังปกหนังสือเรื่องนั้นๆ (44 คะแนน)

ถือเป็นข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญเลยทีเดียว แต่ว่าเพราะอะไร คนเขียนโดจินสมัยก่อนถึงต้องยอมลงข้อมูลส่วนตัวแบบนี้ด้วยล่ะ คำตอบอยู่ที่ข้อต่อไปครับ….

4 (ร่วม).เพราะสมัยก่อนเราซื้อโดจินด้วยการส่งไปรษณีย์ (46 คะแนน)

เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีอินเตอร์เนตใช้ แถมตัวการ์ตูนในโดจินส่วนใหญ่ก็มีลิขสิทธิ์อีก ทำให้ไม่สามารถไปโฆษณาที่ไหนได้ ในมุมมองของผู้เขียนโดจินสมัยก่อน เขาจะสามารถพบปะกับผู้อ่านได้ผ่านทางงานขายโดจินเท่านั้น และที่นั่นคือพื้นที่แสดงผลงานของตัวเองและการโฆษณาตัวเองด้วย ซึ่งหากเมื่อผู้อ่านซื้อไปแล้วชอบ อยากสั่งซื้อผลงานเรื่องอื่นๆ ของผู้เขียนคนนั้น ก็มีแต่ต้องส่งจดหมายติดต่อกับผู้เขียนแต่เพียงอย่างเดียว ถ้าไม่อยากรองานโดจินรอบหน้า นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ต้องมีข้อมูลส่วนตัวของผู้เขียนลงไว้หลังปกโดจินสมัยก่อนด้วยนั่นเอง

4.(ร่วม) เมื่อคุณบอกใครว่าชอบอนิเมะ คุณจะโดนมองด้วยสายตาแปลกๆทันที (46 คะแนน)

เพราะสังคมชอบมองว่าอนิเมะเป็นเรื่องของเด็กๆ และยังไม่มีการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันนั่นเอง แต่จริงๆ แล้วในสมัยนี้คนที่แอนตี้อนิเมะ เพราะเสพสื่อรูปแบบอื่นก็มีอยู่นะ เพียงแค่น้อยลงกว่าแต่ก่อน

3.สมัยก่อนไม่มีใครอยากเรียกตัวเองว่าเป็นโอตาคุ (47 คะแนน)

“โอตาคุ” เอาจริงๆ แล้วมันก็มีความหมายเหมือนกับ geek ในภาษาอังกฤษ ซึ่งกล่าวถึงกลุ่มคนที่คลั่งไคล้อะไรสักอย่าง แต่สมัยนั้นการกล่าวว่าตัวเองเป็นโอตาคุ มันก็ออกจะดูแปลกๆ หน่อย (ด้วยเหตุผลจากข้อที่แล้ว)

2.คำเรียกแปลกๆ อย่าง BL, Fujoshi ฯลฯ คืออะไร ไม่รู้จัก (52 คะแนน)

สมัยก่อนเรามักจะได้ยินคำว่า Yaoi ที่มีความหมายถึงเนื้อเรื่องแนวชายรักชาย กับ Doujin Onna คือกลุ่มผู้หญิงที่ชื่นชอบอ่านโดจินในรูปแบบเรื่องแนวนั้น (เพราะสมัยก่อนยังไม่มีอนิเมะหรือมังกะ ที่ทำแนวชายรักชายออกมาให้เห็นเท่าไหร่ สาวช่างจิ้นจึงต้องหาแหล่งเสพจากโดจิน) แต่พอยุคสมัยเปลี่ยน ค่ายอนิเมะหรือนักเขียนก็เริ่มทำแนวนี้ออกมาเอาใจสาวๆ สายนี้มากขึ้น จึงมีการแก้คำใหม่ จากคำย่อไม่เป็นทางการ Yaoi เป็น BL ที่ย่อมาจาก Boy Love Doujin Onna ก็ถูกเรียกเป็น Fujoshi ไปแทน

1.ถ้าคุณชอบอนิเมะ คนอื่นจะตัดสินคุณว่าเป็นพวกมืดมนทันที (68 คะแนน)

เป็นเรื่องแปลกมากที่ข้อนี้ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ทั้งๆ ที่สมัยนั้นการ์ตูนแนวฮีโร่กอบกู้โลกนี้มีอยู่มากมาย แต่มันก็เป็นไปแล้ว เพราะเนื่องจากบางข้อก่อนหน้ามารวมกัน กลุ่มคนที่ชอบอนิเมะจึงมักแปลกแยกจากคนอื่น ถูกมองแปลกๆ หาคนคุยด้วยลำบาก อินเตอร์เนตก็ไม่มี รีบกลับไปดูทีวีเพื่อไปดูอนิเมะโดยไม่เข้าสังคมนั่นเอง แต่เมือสมัยนี้มีอินเตอร์เนตแล้ว ก็ทำให้คนกลุ่มนี้มีพื้นที่พูดคุยกันมากขึ้น มีการตั้งคอมมูนิตี้แบบต่างๆ ทำให้คนเหล่านี้ไม่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป

เครดิต : https://soranews24.com/2018/04/13/10-ways-being-an-anime-otaku-was-different-30-years-ago/

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้