คุยกับ “ชุนจิ อิวาอิ” ต้อนรับ “Kyrie no uta” ฉบับ ไดเรกเตอร์คัตดูกันเต็ม ๆ แบบไม่มีตัด 178 นาที 21 มีนาคม ในโรงภาพยนตร์

Kyrie no uta ฉบับ ไดเรกเตอร์คัต

คุยกับ “ชุนจิ อิวาอิ” ต้อนรับ “Kyrie no uta” ฉบับ ไดเรกเตอร์คัตดูกันเต็ม ๆ แบบไม่มีตัด 178 นาที 21 มีนาคม ในโรงภาพยนตร์

หนังเรื่องนี้ของคุณยาวเกือบ 3 ชั่วโมง เดิมทีผมตั้งใจจะทำหนังเล็กๆ สั้นๆ ซึ่งผมหยิบยกมา จากนิยายที่ผมเขียนเอง แต่ทำไปทำมาเรื่องก็ค่อยๆ ยาวขึ้น จนผมได้เห็น ไอนะ ไปออก ในรายการทางออนไลน์ รายการหนึ่ง ผมประทับใจในตัวเธอมาก เลยชวนเธอมาเล่นหนังให้ผม หนังเรื่องนี้ของผมจึงกลาย เป็นมีเพลงแทรก เข้ามามากกว่าเดิม และเนื้อเรื่องก็ขยายยาวเป็นเวลา 13 ปี นับตั้งแต่เกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาจนถึงปัจจุบัน และผมทำเป็นหนังยาวแค่ 1 ชั่วโมงครึ่งไม่ได้แน่

Kyrie no uta ฉบับ ไดเรกเตอร์คัต

การทำงานกับไอนะ ดิเอนด์
ผมมารู้ทีหลังว่า ไอนะเองก็เหมือนกับตัวละครที่ผมเขียน สมัยเรียนมัธยมเธอเป็นคนพูดไม่เก่งเลย และสื่อสารกับเพื่อนๆ ไม่ค่อยได้ เธอจะมีความมั่นใจเวลาตัวเองได้ร้องเพลงและเต้นรำ ผมคิดว่านั่นเป็น เหตุให้เธอเล่นบทนี้ได้อย่างเข้าถึงมาก

คุณตั้งใจไว้ว่าจะทำเป็นหนังเพลงตั้งแต่แรกเลยไหม
ผมไม่ค่อยถนัดในการให้คำจำกัดความ คำว่าหนังเพลง หรือ musical film มันอาจเป็นหนังอีกแบบหนึ่ง แต่หนังเรื่องนี้ของผมก็มีเพลงเยอะมาก อาจนับว่าเป็นหนังเพลงได้เหมือนกัน

โดยปกติแล้วผมให้ความสำคัญกับเพลงในหนังอย่างมาก ผมทำเพลงในหนังเอง อย่างเช่นใน April’s Story หรือว่าใน Hana and Alice แต่กับ Kyrie ผมคิดว่ามันเกี่ยวกับเพลงโดยตรง ตัวละครเป็นนักดนตรี และไคลแม็กซ์ของหนังก็เป็นเทศกาลดนตรี ผมคิดว่าเราอาจต้องทำเป็นหนังเพลงเหมือนที่ผมเคยทำใน Swallowtail Butterfly และ All About Lily Chou-Chou ซึ่งเป็นหนังที่มีแกนกลางเกี่ยวข้องกับเพลง แน่นอนว่า ผมต้องชักชวนคนที่ทำเพลงเก่งๆ มาช่วย จนผมนึกถึง ทาเคชิ โคบายาชิ นานแล้วนะที่ผมกับเขาไม่ได้นัดดื่มกัน ผมจึงชวน เขามาทำงานนี้

เพลงในหนังของคุณแตกต่างจากเพลงในหนังเรื่องอื่นๆ ไหม
ความตั้งใจของผมนั้น ผมอยากให้เสียงเพลงเป็นเหมือนเสียงเพลงจากข้างถนนจริงๆ เหมือนเวลาเราเดิน บนทางเท้าและได้ยินนักร้องร้องเพลงท่ามกลางเสียงจอแจ ซึ่งการอัดเพลงในห้องอัดก่อน จะทำให้ขาดความ สมจริงนั้นไป ผมเลยให้พวกเขาเล่นสดแล้วอัดเสียงกันในฉากไปเลย

ทำไมคุณถึงเลือกเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาใส่ในหนัง
เนื่องจากผมเคยทำสารคดีให้กับ NHK มาก่อนในปี 2011 (เรื่อง Friends After 3.11 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เหตุการณ์แผ่นดินไหวในแถบเซ็นได ในปี 2011) ความรู้สึกจากเหตุการณ์ ในครั้งนั้นยังตกค้างในตัวผม ผมจึงเลือก ใช้เหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นใน Kyrie

แต่หนังของคุณก็ยังเกี่ยวกับความรักอยู่เช่นเดิม
ส่วนที่ติดอยู่ในใจผมจากเหตุการณ์นั้น เป็นตอนที่ผมเห็นว่ามีเด็กมัธยมหลายคนโพสต์ในอินเทอร์เน็ต เพื่อตามหาคนที่พวกเขาแอบชอบ ว่ายังอยู่ดีหรือรอดชีวิตหรือเปล่า พวกเขาไม่เปิดเผยชื่อตัวเอง ผมคิดว่า มันน่ารักดีที่ได้เห็นความรักยังคงอยู่ท่ามกลางความหายนะ นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมแต่งเพลง Hana wa Saku ให้กับ NHK

การทำงานของคุณเปลี่ยนไปบ้างไหม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
การทำงานของผมมักจะมาจากคอนเสปต์อะไรสักอย่าง แล้วค่อยๆ ต่อยอดออกไป ผมไม่ค่อย ชอบกะเกณฑ์ว่างานควรออกมาในโครงสร้างแบบไหน ไม่อยากวางกรอบเท่าไหร่ ผมชอบการทดลอง อยากให้เนื้อ เรื่องมันเดินของมันไปเรื่อยๆ และมันจะถึงตอนจบของมันเอง หนังหลายเรื่องที่ผมทำ มันคือตัวผมในขณะนั้นๆ ผมไม่ได้นึกเสียใจที่ทำหนังเหล่านั้นออกมา แต่ว่าในขณะนี้ตัวผมถนัดและสนใจวิธีการแบบนี้

Kyrie 21 มีนาคม ในโรงภาพยนตร์


[ข่าวประชาสัมพันธ์]

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้