ภาษาญี่ปุ่น by PuruZ บท 1 : หน้าเมนูเกมและตัวอักษรพื้นฐาน

     สวัสดีเพื่อนๆ ชาว OS ทุกๆ คนจ้า วันนี้ PuruZ ก็มากับคอลัมน์ใหม่ล่าสุด ไม่ใช่สรุป Video ที่เพื่อนๆ หลายๆ คนเบื่อ อีกต่อไปแล้วจ้า(ผมก็เบื่อ T T) ซึ่งคอลัมน์ใหม่ล่าสุดนี้ก็คือ   เรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นในเกมกับ PuruZ นั่นเองครับ สำหรับคอลัมน์นี้จะเป็นการสอนภาษาญี่ปุ่นที่เพื่อนๆ มักจะเจอบ่อยในเกม รวมถึงเกร็ดความรู้เกี่ยวกับประเทศด้วยครับผม

อ๊าาาาา อ่านไม่ออก มันให้ทำอะไรก็ไม่รู้

     เกมบางเกมก็เป็นเกมที่สนุกมากๆ แต่ติดอยู่ข้อเดียวเลยคือ มันเป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแน่นอนว่าถ้ามันสนุก เพื่อนๆ ก็ต้องหาทางงมเข็มเดาศัพท์ เดาตัวเลือกกันต่างๆ นาๆ ซึ่งเป็นการเสียเวลากินข้าวกินปลาเป็นอย่างมาก  แต่ไม่ต้องกลัวไป เพราะ PuruZ จะมาคอยแนะนำคำศัพท์ต่างๆ ให้เพื่อนๆ ได้เรียนรู้กัน จะได้สนุกกับเกมญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้นครับผม เอาล่ะ เรามาเริ่มต้นกันตั้งแต่วันนี้เลยดีกว่า

     สำหรับบทที่ 1 นี้ ก็จะมาแนะนำศัพท์ที่มักจะอยู่ในหน้าจอเมนูหลักต่างๆ ให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน รวมถึงจะแนะนำตัวอักษรแบบ Hiragana และ Katakana  ให้เพื่อนๆ ได้เรียนรู้กันครับ เอาล่ะ เราไปเริ่มกันเลย

ศัพท์ตามหน้าเมนูเกม

メニュー = menu

メインメニュー = main menu

スタ-ト = start

システム = system

モード = mode

サウンド = sound

初めから、はじめから (Hajimekara) = เริ่ม (เกม) ตั้งแต่แรก

つづきから (tsutzukikara) = เริ่มเกมต่อ หรือ Continue นั่นเองครับ

オプション = option

セーブ = save

ロード = load

キャラクター = Character

戻る、もどる (modoru) = ย้อนกลับ  (タイトルへ戻る = กลับไปบังหน้า Title)

易しい、やさしい (yasashii) = ง่าย บางเกมจะใช้คำว่า イージー (Easy) หรือ かんたん(kantan) ครับ

普通、ふつう (futsuu) = ปานกลาง บางเกมจะใช้คำว่า ノーマル (Normal)

難しい、むずかしい (muzukashii) = ยาก บางเกมจะใช้คำว่า ハード (Hard)

選ぶ、えらぶ (erabu) = เลือก

よろしいですか?(yoroshiidesuka) = ตกลงหรือไม่

はい (hai) = ใช่, ตกลง

いいえ (iie) = ไม่ใช่, ยกเลิก

     ส่วนต่อไป ก็จะเป็นการแนะนำตัวอักษร Hiragana และ Katakana ที่เป็นตัวอักษรพื้นฐานของภาษาญี่ปุ่นให้เพื่อนๆ เพื่อที่จะได้อ่านคำง่ายๆ เป็นครับ เอาล่ะ เรามาดูกันเลยครับ

Hiragana ひらがな

Katakana カタカナ 

     เพื่อนๆ อาจจะงงว่าทั้งๆ ที่อ่านเหมือนกัน แต่ทำไมต้องมีตัวอักษรสองแบบ นั่นก็เพราะว่าตัว Hiragana จะใช้กับคำที่เป็นภาษาญี่ปุ่น ส่วน Katakana จะใช้กับคำที่เป็นคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศครับ (อาจจะมีใช้กับคำญี่ปุ่นในบางครั้ง เพื่อป้องกันความสับสนในการอ่านตัวคันจิ เพราะว่าตัวคันจิบางทีถึงจะเขียนด้วยตัวเดียวกัน แต่ความหมายอาจจะต่างกัน) ส่วนตัวคันจินั้นมีมากมายเหลือเกิน ( 1900+ สำหรับใช้ในภาษาญี่ปุ่น ) ไว้สัปดาห์หลังจะค่อยๆ มาแนะนำให้เพื่อนๆ สัปดาห์ละนิดหน่อยละกันครับ จะได้จำง่ายๆ

     วิธีจำง่ายๆ ก็คือ ให้เพื่อนๆ แบ่งออกเป็น 11 วรรค คือ a, ka, sa, ta, na, ha, ma, ya, ra, wa, n แต่ละวรรคจะมีสระด้วยกัน 5 เสียง เช่น  a, i ,u ,e ,o หรือ ka, ki, ku, ke, ko ครับ (ยกเว้นวรรค ya จะมีแค่ 3 เสียง, วรรค wa จะมี 2 เสียง และ วรรค n จะมีแค่ 1 เสียงครับ)

     ส่วนวรรค ka, sa, ta, ha  จะมีการเพิ่มตัวสัญลักษณ์เพิ่มเข้าไปท้ายตัวอักษร เพื่อเพิ่มเสียงในการอ่าน ซึ่งมีด้วยกัน 2 ตัว ได้แก่ ตัว tenten (ขีดสองขีด) และ maru (ตัวกลมๆ ) วรรคที่มีการเพิ่มตัว tenten จะมีด้วยกัน 4 วรรค ได้แก่ ka, sa, ta, ha ส่วนวรรคที่มีการเพิ่มตัว maru จะมีแค่วรรคเดียว คือวรรค ha ครับ

       ยังไงเพื่อนๆ ก็ลองไปท่องกันดูนะครับ ไม่ยากเกินความสามารถเพื่อนๆ อย่างแน่นอน เพราะว่าในสัปดาห์หน้า จะเริ่มแนะนำคำศัำพท์ในชีวิตประจำวันให้เพื่อนๆ เพิ่มเติมด้วยครับ แล้วพบกันใหม่สัปดาห์หน้ากับ เรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นในเกมกับ PuruZ นะครับ สำหรับสัปดาห์นี้ต้องขอลาไปก่อน ยังไงก็ขอฝากคอลัมน์นี้ไว้ด้วยนะครับ สวัสดีครับ

คำที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าว OS

คุณอาจสนใจเรื่องนี้